วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มงคลสูตรคำฉันท์ ♥ลักษณะคำประพันธ์+ประวัติผู้แต่ง

ลักษณะคำประพันธ์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโยทรงนำคาถาบาลาที่เป็น “มงคลสูตร” ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฏกมาแปล แล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง ท่องจำง่าย และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ โดยทรงใช้คำประพันธ์ ๒ ประเภท คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (ดูแบบแผนการประพันธ์และฉันทลักษณ์ได้ในหน่วยการเรียนรู้ที่๑ เรื่องคำนมัสการคุณานุคุณ) โดยลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า “ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี”
ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ที่ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ โยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายอย่าง เช่น บทละคร บทความ นิทาน นิยาย สารคดี เป็นต้น และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็ฯสื่อสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องที่ยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว
มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครคำพูดฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการถวายพระราชสมญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และในพ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ทรงยังได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น